## ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีแบรนด์ ASUS DELL ACER HP LENOVO MSI ## ศูนย์บริการ ซื้อขาย - แลกเปลี่ยน โน้ตบุ๊คทุกยี่ห้อ #ศูนย์บริการ รับซ่อม โน้ตบุ๊คทุกรุ่น ทุกอาการ#พร้อม อะไหล่ ทุกยี่ห้อ แจ้งราคาก่อนซ่อมทุกครั้ง TEL..086-4482347 / 055-251876

 

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อNOTEBOOK ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • 5 January 2017 at 15:19
  • 2913
  • 0

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อNOTEBOOK ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


ในเมืองไทยจะมี notebook แบบที่ราคาถูกอยู่ ที่เขาสามารถขายราคาถูกได้เพราะว่า มันจะเป็น notebook แบบไม่แท้ คือ ตัว notebook เองไม่มีแบตเตอร์รี่ในตัว เวลาที่จะใช้งานต้องเสียบไฟจากไฟบ้าน (เหมือนเครื่อง desktop ตั้งโต๊ะทั่วไปเลย) ทำให้นำไปทำงานนอกสถานที่ไม่มีความสะดวก หรือบางครั้งใช้ cpu แบบที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ notebook โดยเฉพาะ โดยนำ cpu ของเครื่อง desktop มาใช้แทน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของความร้อนของ cpu เพราะว่าในตัว notebook เองไม่สามารถที่จะต่อพัดลมเพื่อระบายความร้อนออกจาก cpu ได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้ notebook ประเภทนี้เสียง่ายกว่าปกติ ซึ่ง 2 ข้อนี้ เป็นข้อหลักๆที่ทำให้ notebook มีราคาที่ถูกกว่าที่ควรจะเป็นมาก เพราะฉะนั้นห้ามซื้อแบบที่ว่าไปทั้ง 2 แบบมาใช้เด็ดขาด

การผลิต cpu สำหรับ notebook นั้นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิต ที่สูงกว่า cpu ทั่วไปเพราะจะต้องคำนึงถึงเรื่องความร้อนของ cpu และอัตราการกินไฟของ cpu เป็นสำคัญ


อัตราการกินไฟของ cpu คืออะไร เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้ามีพลังงานที่เท่ากัน cpu สำหรับ notebook จะมีระยะเวลาในการทำงานได้นานกว่า cpu สำหรับ desktop คือ cpu notebook จะให้งานกับแบตเตอร์รี่มาตรฐานที่ให้มากับเครื่องได้ประมาณ 3 ช.ม. ส่วน cpu desktop จะใช้งานได้ประมาณ 1 ช.ม. นิดๆๆ สรุป ก็คือต้องเลือกใช่ cpu สำหรับ notebook เท่านั้น


การเลือกยี่ห้อของ cpu นั้น แนะนำของ intel เท่านั้น เพราะว่าของ intel จะมีความร้อนน้อยกว่า cpu ของ AMD แต่ถ้าจะเป็น cpu ของ AMD ก็สามารถที่จะใช้ได้ แต่ถ้าไม่ใช่ cpu ของ 2 ยี่ห้อนี่ก็ไม่ต้องมองเลยเพราะว่าไม่ได้มาตรฐาน (ไม่ได้ตามความเร็วที่กำหนดไว้) และถ้ามีคนบอกว่า cpu แบบ Celeron นั้นเหมือนกับแบบ Pentium (เพนเทียม ไม่รู้ภาษาอังกฤษสะกดถูกไหม) ตอบแบบเด็ดขาดไปเลยว่า "ไม่เหมือนกัน" เพราะ cpu ที่ความเร็วเท่ากันแบบ Pentium จะเร็วกว่าแบบ Celeron มากๆ และ Pentium ยังแพงกว่าด้วย (แพง เพราะเร็วกว่าและดีกว่ามาก) อันนี้ลองมากับมือแล้ว

- Pentium
จะเหมาะกับงานแบบ graphic , ตัดต่อภาพ , ตัดต่อ VDO หรือการประมาลผลที่หนักๆๆ

- Celeron
จะเหมาะกับงานทั่วๆไป เช่น เล่นเน็ต , พิมพ์งาน , ฯลฯ

สุดท้ายก็คงแล้วแต่การใช้งานของแต่ละคน


ใน อเมริกา notebook ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่นิยมกัน คือ DEL กับ TOSHIBA ของ Del นั้นจะได้รับความนิยมมากกว่า (เพราะอะไรไม่ทราบ) แต่ของ Toshiba นั้นน่าเล่นกว่า เพราะจะมีการรับประกับแบบ world-wide เป็นเวลา 1 ปี และสามารถที่จะซื้อ option การรับประกับเพิ่มได้อีก 2 ปี (รวมเป็น 3 ปี) ราคาของ option ประมาณ 50 - 100 เหรียญสหรัฐ


ถ้าในกรณีที่ซื้อกลับมาใช้ที่เมืองไทยเป็นหลัก ให้ดูยี่ห้อ Fujisu รวมเข้าไปด้วย เพราะว่า Fujisu ก็มีการรับประกับแบบ world-wide เหมือนกัน แต่ แต่... Fujisu นี้มีศูนย์รับประกันที่เมืองไทยเลย (ยี่ห้ออื่นจะมีศูนย์ที่รับผิดชอบในภูมิภาคนี้อยู่ที่ สิงคโปร์ เป็นหลัก)


ส่วน notebook ยี่ห้อ Compact ในอเมริกา ไม่ได้รับความเชื่อถือมากนัก + แพง + มีการล็อก Bios ทำให้ไม่สามารถที่จะปรับหรือแก้ค่าต่างๆหรือเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปกับ notebook ได้ สรุป คือไม่ดีห้ามซื้อยี่ห้อ Compact มาใช้เด็ดขาด


เครื่อง notebook ที่ซื้อจะต้องมี modem ในตัวมาเลย modem ต้องรองรับมาตรฐานแบบ V.90 ที่ความเร็ว 56 k. และเมื่อมี modem แล้วจะต้องมี card LAN แบบ 10/100 มาด้วย สรุป ต้องมีทั้ง modem internal และ card LAN มาด้วยทั้ง 2 อย่าง เพราะเป็นมาตรฐานที่ notebook ต้องมี และการหาซื้อมาติดตั้งภายหลังนั้นยาก และโดยปกติแล้ว notebook ก็ต้องต่อเน็ตนอกสถานที่ซึ่งสถานที่นั้นไม่สามารถตอบได้ว่าจะให้สายโทรศัพท์มา หรือว่าจะให้สายLAN มา จึงควรมีทั้ง 2 อย่าง


สำหรับ Harddisk นั้นขั้นต่ำต้อง 20 GB อย่าบอกว่าเยอะไป เพราะปัจจุบัน ตัวโปรแกรมหรือตัวข้อมูลต่างๆนั้นมีขนาดใหญ่ๆทั้งนั้นจึงควรมี Hamddisk ขนาดความจุมากๆเอาไว้ และถ้าจะหา Hardisk ที่มีความจุน้อยกว่านี้ก็หาได้ยาก ถึงหาได้ราคาก็จะแพงกว่า 20 GB แต่ถ้าราคาส่วนต่างของ 30 GB ไม่มากนั้นก็เพิ่มมาเป็น 30 GB ดีกว่า


ส่วนหน้าจอที่ใช้ในการแสดงผลนั้น (จอที่เรามองเห็นเลยไม่ได้พูดถึงการ์ดจอนะ) ในส่วนนี้มีผลมากตอนซื้อต้องตรวจสอบให้ดีว่าหน้าจอนั้นมีส่วนที่ bad pixel หรือไม่ เพราะในการรับประกันนั้นถ้าหน้าจอที่ส่วนที่มันเป็น bad pixel ขึ้นมาแต่ว่ามัน bad น้อยกว่า 20 pixel ต่อจุด บริษัทที่รับประกันจะถือว่าเป็นปกติ ถ้าเราตรวจพบภายหลัง 1 - 2 วันหลังจากที่เราซื้อไปบริษัทก็จะไม่เปลี่ยนสินค้าให้ เพราะเขาถือว่าสินค้านั้นได้มาตรฐาน งานนี้ "ตาดีได้ตาร้ายเสีย" ฉะนั้นจึงควรพาคนที่รู้เรื่องไปด้วย แต่การที่เขาไม่เปลี่ยนให้นี้ไม่ได้แปลว่าการรับประกันสินค้าสิ้นสุดลง ถ้ามีส่วนอื่นๆที่มีปัญหา เขาก็ต้องรับประกันเราอยู่เหมือนเดิม


แบตเตอร์รี่ความจะเป็บแบบ Lithium Ion : Li (ลิ-เทียม) เพราะจะมีความจุของไฟมากกว่า ใช้ได้ยาวนานกว่า สามารถที่จะชาร์ตโดยไม่ต้องรอให้ แบตเตอร์รี่หมด แต่ว่า แบตแบบนี้จะมีราคาแพงกว่าแบบ Ni-Cd แต่ถ้านำมาใช้จริงแล้วจะคุ้มค่ากว่า

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2